นายก อบต.ศรีสะอาด

นายก อบต.ศรีสะอาด
นายสุริยัน สมร

ข้อมูลตำบล

ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสะอาด

ลักษณะที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
ตำบลศรีสะอาด ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดศรีสะเกษ และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของอำเภอขุขันธ์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลกันทรารมย์ โดยแยกออกมา เมื่อปี พ.ศ.2538 มีเนื้อที่ทั้งหมดโดยประมาณ 41.49 ตารางกิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอขุขันธ์ 15 กิโลเมตร โดยทางรถยนต์โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ที่ใกล้เคียง ดังนี้ คือ
ทิศเหนือ เขตตำบลโพธิ์ศรี อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศใต้ เขตตำบลใจดี,ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก เขตตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก เขตตำบลปราสาทอำเภอขุขันธ์ , เขตตำบลโพธิ์ศรี อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

พื้นที่
ตำบลศรีสะอาด มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 41.49 ตารางกิโลเมตร

ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ทั้งหมดของตำบลจะมีความ ลาดชันจากทางใต้ ไปสู่ ตอนเหนือของตำบล สภาพดินร้อยละ 95 เป็นลักษณะดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ส่วนที่มีความสมบูรณ์ของดินค่อนข้างสูงมีเพียง ร้อยละ4.5 นอกนั้นก็เป็นที่อยู่อาศัย
ภูมิอากาศ
ตำบลศรีสะอาด มีอากาศแห้งแล้ง
ฤดูหนาว ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย 15 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน อากาศร้อนจัดอุณหภูมิเฉลี่ย 39 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน ฝนเริ่มตกในช่วงเดือนเมษายน – พฤศจิกายน มักเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ปริมาณน้ำฝนตลอดปี 20 - 60 มิลลิเมตร

จำนวนหมู่บ้าน และการปกครอง
ในพื้นที่ตำบลศรีสะอาด มีการปกครอง แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการปกครองส่วนท้องที่มีการแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 9 หมู่บ้าน มีกำนันเป็นผู้นำสูงสุดในตำบล และมีผู้ใหญ่บ้านดูแลความสงบเรียบร้อยและการปกครองทั่วๆไปในแต่ละหมู่บ้าน และรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร และมีประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้นำฝ่ายสภาฯ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้รับเลือกตั้งจากราษฏร หมู่บ้านละ 2 คน รวมเป็น จำนวน 18 คน อบต.มีหน้าที่ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537



สภาพการดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ของประชากรจะอาศัยอยู่รวมกันตามลักษณะของสังคมไทยสมัยก่อน อยู่อย่างเรียบง่าย รักความสงบ จะมีบางส่วนเริ่มแยกครอบครัวและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามยุคสมัยปัจจุบัน การจัดการในครัวเรือนขึ้นอยู่กับผู้นำครอบครัวเป็นหลัก ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มพี่น้อง เป็นกลุ่มใหญ่
2. ตั้งบ้านเรือนตามพื้นที่การเกษตรของตนเอง
ขนบธรรมเนียมประเพณี ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย เช่น การบวชนาคหมู่ การแต่งงาน งานศพ และประเพณีตามเทศกาลต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง การทำบุญสารทต่าง ๆ และพิธีสำคัญทางศาสนา
สังคมชุมชน
เป็นชุมชนพื้นบ้านดั้งเดิม เป็นระบบเครือญาติพี่น้อง มีความผูกพันกันอย่างใกล้ชิด มีการช่วยเหลือเกื้อกูล
มีขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนกัน นับถืออาวุโส ประกอบอาชีพคล้ายกัน มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ



อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยแยกเป็น
- อาชีพทำไร่
- อาชีพรับจ้าง เมื่อว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรมคนหนุ่ม-สาวจะเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าไปหางานรับจ้างทำในกรุงเทพมหานคร หรือตามเมืองใหญ่ และรับจ้างโดยทั่วไปในตำบล
- อาชีพเลี้ยงสัตว์ โดยส่วนใหญ่จะเลี้ยงวัวเนื้อ,วัวพื้นบ้าน นอกจากนั้นจะเป็น ไก่และสุกร
- อาชีพค้าขาย โดยมาก ประกอบการร้านขายของชำและขายอาหารเป็นส่วน
ใหญ่นอกจากนั้นจะขายของซึ่งผลิตได้เองเช่น พืชไร่และผลิตภัณฑ์จากหัตถกรรม
- อาชีพทำนา ที่ปลูกข้าวคือ ข้าวขาวดอกมะลิ ของพื้นที่ นอกจากนั้นเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง เริ่มผลิตในเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม มีการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และปุ๋ยชีวภาพในนาข้าว
- อาชีพรับราชการ โดยส่วนใหญ่จะรับอาชีพราชการครู ตำรวจ และพนักงานส่วนท้องถิ่น

ปัญหาของชุมชน ประชากรในตำบลศรีสะอาด มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก จึงประสบปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเสียเป็นส่วนมาก คือ
1. ปัญหาการขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และขาดแหล่งกักเก็บน้ำในฤดูแล้ง
2. ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ
3. ถนนเพื่อการขนส่งผลผลิตการเกษตรชำรุดในฤดูฝน
4. ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ
5. ต้องการให้ส่งเสริมอาชีพและแปรรูปผลผลิตการเกษตร
6. ปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก
7. ปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาก
8. มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชสูงสุด ซึ่งเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม

การศึกษา
ตำบลศรีสะอาด มี 9 หมู่บ้าน ได้จัดการศึกษาออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบการศึกษาในโรงเรียนและระบบการศึกษานอกโรงเรียน และแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็น 1 เขต อยู่ในเขตการศึกษาเขต 3 มีโรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลศรีสะอาด จำนวน 3 โรงเรียน โดยแยกเป็นระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง (ขยายโอกาส)คือ โรงเรียนศรีสะอาดวิทยาคม ซึ่งมีจำนวนห้องเรียนแต่ละโรงเรียนโดยแยกเป็นรายโรงเรียนดังนี้

โรงเรียนศรีสะอาดวิทยาคม
- บุคลากรในโรงเรียน (ครู,พนักงาน) จำนวนทั้งหมด 21 คน แยกเป็น ชาย 15 คน หญิง 6 คน
- นักเรียนจำนวนทั้งหมด 407 คน แยกเป็น ชาย 214 คน หญิง 183 คน
ระดับอนุบาล 61 คน ระดับประถม 177 คน และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 169 คน







โรงเรียนบ้านตะเคียนบังอีง
- บุคลากรในโรงเรียน(ครู,พนักงาน)จำนวนทั้งหมด 10 คน แยกเป็น ชาย 4 คน หญิง 6 คน
- นักเรียนจำนวนทั้งหมด 172 คน แยกเป็น ชาย 92 คน หญิง 80 คน
ระดับอนุบาล 33 คน ระดับประถม 172 คน และระดับมัธยมศึกษา - คน

โรงเรียนบ้าน คล้อโคกกว้าง
- บุคลากรในโรงเรียน(ครู,พนักงาน)จำนวนทั้งหมด 9 คน แยกเป็น ชาย 7 คน หญิง 2 คน
- นักเรียนจำนวนทั้งหมด 100 คน แยกเป็น ชาย 53คน หญิง 47 คน
ระดับอนุบาล 22 คน ระดับประถม 100 คน และระดับมัธยมศึกษา - คน

มีศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ ซึ่งถ่ายโอนจากกรมการพัฒนาชุมชน อนุบาล3 ขวบ 1 แห่ง
ตั้งอยู่ที่ บ้านศรีสะอาด หมู่ที่ 6 มีจำนวนเด็กทั้งหมด 41 คน แยกเป็น ชาย 23 คน หญิง 18คน
มีครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 2 คน แยกเป็น ชาย - คน หญิง 2 คน

มีศูนย์การเรียนชุมชน(กศน)ประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง
มีจำนวนนักศึกษา จำนวน 81 คน แยกเป็น ชาย 63 คน หญิง 18 คน
มีจำนวนครูผู้สอนจำนวน 1 คน

สถาบันและองค์กรทางศาสนา
ตำบลศรีสะอาด มีผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 99.33 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ผู้นับถือศาสนา อิสลาม และศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.67 ของจำนวนประชากรทั้งหมด มีจำนวนวัดทั้งสิ้น 2 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง มีพระภิกษุ รูป สามเณร รูป

สาธารณสุข
ตำบลศรีสะอาด ได้มีการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยทั่วไป เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สุขภาพ การออกกำลังกายป้องกันการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ ในตำบล โดยเฉพาะประชาชนผู้ ยากจนที่อาศัยอยู่ในชนบทห่างไกลและการคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งหน่วยงานสาธารณสุข มีสถานที่บริการด้านสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ และบริการอื่น ๆ ดังนี้
จำนวนบุคลากรผู้ปฎิบัติงาน และอื่น ๆ ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาของสถานีอนามัยตำบลศรีสะอาด
1. นายชูพงษ์ ชวดพงษ์ เป็นหัวหน้าสถานี
2. นายกฤษดา สอนพูด นักวิชาการสาธารณสุข 5
3. นางแสงมณี โพธิ์กระสังข์ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 5
4. นางสาวเชาวณี ถาวร ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข





และมีข้อมูลโรคที่ประชาชนมารักษาที่สถานีอนามัยมากที่สุดเรียงตามลำดับได้ดังนี้
1. โรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 462 คน (ไข้หวัด คออักเสบ ทอลซิลอักเสบ )
2. โรคระบบทางเดินอาหาร จำนวน 151 คน (อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง
กระเพาะอาหาร)
3. โรคระบบกล้ามเนื้อ จำนวน 190 คน ( ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ข้ออักเสบ )

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ตำบลศรีสะอาด อยู่ในเขตสืบสวนสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอขุขันธ์ นอกจากมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนแล้วก็ยังมีการฝึกอบรมตำรวจบ้านและอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเป็นผู้ช่วยเหลือและนอกจากนั้นในส่วนของการปกครองส่วนท้องที่ก็ยังมีผู้ใหญ่เป็นผู้ปกครองดูแลความสงบเรียบร้อยภายในแต่ละหมู่บ้านโดยมีกำนันเป็นผู้ปกครองดูแลทั่ว ๆ ไป ภายในตำบลอีกชั้นหนึ่ง
การคมนาคม
การคมนาคม / การจราจร ตำบลศรีสะอาด มีเส้นทางคมนาคมที่ติดต่อได้กับตำบล/อำเภอใกล้เคียง ภายในท้องที่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยทางรถยนต์
การคมนาคมทางรถ เนื่องจากเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศ ทำให้การขนส่งทางรถยนต์ ได้มีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสะอาด จึงได้ตระหนักในการพัฒนาเส้นทางการสัญจรให้มีความมั่นคงและสมบูรณ์ ตามนโยบายของจังหวัด เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยมีเส้นทางรถยนต์ที่สามารถใช้บริการได้ตลอดคือเส้นทางถนนลาดยาง ทางหลวงชนบท หมายเลข 2003 ซึ่งเป็นสายวิ่งเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีสะอาด

การโทรคมนาคม
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ
- โทรศัพท์บ้าน
- โทรศัพท์มือถือ
- หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน

การไฟฟ้า
ปัจจุบันมีไฟฟ้าให้บริการครบทั้ง 9 หมู่บ้าน






การประปา
ปัจจุบันมีบริการประปาหมู่บ้านจำนวน 5 แห่ง จากทั้งหมด 9 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 2 บ้านภูมิร่มเย็น จำนวน 1 แห่ง
หมู่ที่ 3 บ้านคล้อ จำนวน 1 แห่ง
หมู่ที่ 4 บ้านศรีษะกระบือ จำนวน 1 แห่ง
หมู่ที่ 5 โคกกว้าง จำนวน 1 แห่ง
หมู่ที่ 6 บ้านศรีสะอาด จำนวน 1 แห่ง
แหล่งน้ำธรรมชาติ
แหล่งน้ำ แหล่งน้ำทางธรรมชาติที่สำคัญของตำบลศรีสะอาด คือแหล่งน้ำตามบึง หนอง คลองทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของพื้นที่ไหลผ่านมาจากทางตอนไต้ของตำบล ลงไปทางเหนือของตำบล นอกจากนี้ยังมีแหล่งที่สร้างขึ้น เช่น บ่อบาดาล ประปา เป็นต้น อยู่ทั่วไป มีการสร้างฝายขนาดเล็กกั้นลำห้วยต่าง ๆ รวมทั้งคลองส่งน้ำ เพื่อประโยชน์ในทางการเกษตร ได้แก่
1) ห้วยสำราญ ไหลผ่าน บ้านสะอาก(ม.1) , บ้านภูมิร่มเย็น(ม.2) ,บ้านศรีสะอาด(ม.6) , บ้านศรีสมบูรณ์(ม.7)
2) หนองสมร อยู่ในเขต หมู่ที่ 6 8) หนองสิมสาธารณประโยชน์ อยู่ในเขต หมู่ที่ 9
3) หนองตาเตียน อยู่ในเขต หมู่ที่ 1 9) หนองเกาะ อยู่ในเขต หมู่ที่ 5
4) หนองหมื่นไตร อยู่ในเขต หมู่ที่ 1 10) หนองปลาหลด อยู่ในเขต หมู่ที่ 8
5) หนองตะเคียน อยู่ในเขต หมู่ที่ 9 11) หนองยาว อยู่ในเขต หมู่ที่ 8
6) หนองปลาหลด อยู่ในเขต หมู่ที่ 8 12) หนองตาปรก อยู่ในเขต หมู่ที่ 4
7) ตาบิน อยู่ในเขต หมู่ที่ 4 13) หนองตาสวด อยู่ในเขต หมู่ที่ 6
รวมทั้งคลองส่งน้ำ อยู่ในเขต หมู่ที่ 2,3,4,5,8,9
ดิน
สภาพที่ดินของตำบลศรีสะอาด ร้อยละ 95 เป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำได้ดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ มีเพียงร้อยละ 4.5 ของพื้นที่ตำบล เท่านั้น ที่มีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง ส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 0.5 เป็นดินที่ใช้ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งทำการกสิกรรมปลูกพืชผักส่วนครัวได้เพียงบางส่วน

บันทึกข้อมูล อบต.ศรีสะอาด

เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสะอาด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ